แนวเพลงร็อกแอนด์โรล (Rock and roll หรือ rock 'n' roll)
Rock 'n' Roll เป็นดนตรีที่ผสมผสาน
กันระหว่างความเป็นอเมริกันกับแอฟริกัน
คือ
ดนตรีแบบพื้นบ้านอย่าง folk หรือ country
ของชาวตะวันตกผิวขาว
กับ ดนตรีแบบ blues
และ
R
& B (เป็นดนตรีที่พัฒนามาจาก
blues)
ของชนผิวสี
ทำให้เกิดเป็น ดนตร แนวใหม่
ที่มีจังหวะที่รุนแรงกว่าเดิม ทั้งเสียงกีตาร์ที่ดัง กลองที่รัวและเร็ว
จังหวะที่มีอัตราเร่งมากขึ้น ซึ่งตอบ รับ ความต้องการปลดปล่อยความรู้สึก
เก็บกดในจิตใจ และแสวงหาความตื่นเต้นของวัยรุ่นได้ดีกว่า ดนตรี แบบเดิม ที่มีอยู่ในขณะนั้น
วัฒนธรรมดนตรีแบบ Rock 'n' Roll ก็มาพร้อมกันกับวัฒนธรรมวัยุร่น ที่ถือว่าเป็น
การแสดง ถึงตัวตน (Identity) ของตนเองออกมา ล้วนเป็นแนวทางที่ขัดกับ
สิ่งที่ผู้ใหญ่ในสมัยนั้น เห็นว่าดีงามและถูกต้องทั้งสิ้น แม้ Rock
'n' Roll ซึ่งถูกประฌามว่าเป็นดนตรีของปีศาจ
เนื่องจากความใหม่และ แหวกแนวอย่างมาก แต่ในขณะเดียวกัน
ดนตรีประเภทนี้กลับเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง ในหมู่วัยรุ่นหนุ่มสาว เพราะRock
'n' Roll เป็นการรวมกันของอิสรภาพ และการมีอำนาจ ในการ ควบคุม ซึ่งเป็นสิ่งที่วัยรุ่นต้องการ วัฒนธรรมของนักดนตรี
Rock
'n' Roll จึงมีอิทธิพล
ต่อวัฒนธรรม ของ วัยรุ่น ทั้งแฟชั่นการแต่งกาย ภาษา ทัศนคติ
หรือแม้แต่มุมมองทางการเมือง การได้รับการยอมรับ อย่างกว้างขวาง
ในหมู่วัยรุ่นทั่วโลกทำให้ยอดขายผลงานในของดนตรีแนวนี้
พุ่งขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์
Rock 'n' Roll เริ่มดังขึ้นในปลายปี
1955 โดย Bill
haley & His Comet ด้วยเพลง Rock around
The Clock ที่โด่งดังไปทั่วโลก
มีคนเริ่มนำเพลงRock
And Roll มาร้องเล่นกัน
มีศิลปินร็อคแอนด์โรลที่โด่งดังมากมายในยุคนั้น เช่น Elvis Presley ที่มีเพลงฮิตติดอันดับนับไม่ถ้วนตั้งแต่
1956 ถึง 1958
แต่ในที่สุดยุคเสื่อมของ
rock 'n' roll ในอเมริกาก็มาถึง
ภายหลังจากที่เริ่มต้นได้ไม่นานนัก ในตอนปลาย ทศวรรษ 50
เมื่อขึ้นทศวรรษใหม่ Rock 'n' Roll ได้เกิดขึ้นใหม่อีกครั้ง
ณ สถานที่แห่งใหม่และยังเป็นการกลับมาที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิมด้วย มีศิลปินมากมายเข้ามาจึงทำให้ดนตรีร้อกแอนนด์โรลกลับมาอีกครั้ง
และพอยุค70ดนตรีร็อคแอนด์โรลก้อถูกพัฒนาเป็นร็อคในปัจจุบัน
รูปแบบการเต้น Jive
1. Single Rhythm หรือ
Boogie–Woogie หรือ
Rock 4
2. Double Rhythm หรือ
Jitterbug หรือ Rock
6
3. Triple Rhythm หรือ
Jive หรือ Rock
8
ในปัจจุบันนิยมเต้น
Jive แบบ Triple Rhythm
ซึ่งการเต้นแบบนี้ยังได้รับการรับรองให้เป็นลีลาศมาตรฐานและจัดให้มีการแข่งขันอยู่เสมอด้วย
ลักษณะของจังหวะ Jive
- ห้องดนตรีเต็มจังหวะ
4/4 โดยมีประมาณ 40-48
ห้องดนตรีต่อนาที
- ความเร็วในการแข่งขัน
44 บาร์ (176
บีท)
ต่อนาที ตามกฎของ IDSF
(International Dance Sport Federation)
- การนับจังหวะคือ
1, 2,
3–4–5,
6–7-8
(เร็ว-เร็ว-เร็วและเร็ว-เร็วและเร็ว)
โดยมีจังหวะเน้นหนักบนบีทที่ 2
และ 4
- อาศัยหลักพลศาสตร์
ฉับพลัน ตรงและการเคลื่อนไหวที่แผ่วเบา
- มีจังหวะจะโคน
มีการออกท่าทาง เตะ และดีดสะบัด การเคลื่อนไหว ไม่เคลื่อนไปข้างหน้า แต่เป็นการมุ่งไปข้างหน้าและย้อนกลับมายังจุดศูนย์กลางของการเคลื่อนไหว
รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงการใช้เท้าในการเตะและดีดสะบัด ในขณะที่การเต้นดั้งเดิมจะใช้ส่วนของร่างกายและสะโพกมากกว่า
- แตกต่างกับการเต้นแบบ
Rock ‘n’ Roll
ตรงที่การเต้นแบบ Jive จะมีการลัดจังหวะ
(syncopated) ด้วยการเต้นแบบ
Chassé
การจับคู่
- มีทั้งการจับคู่แบบปิดของละตินอเมริกันโดยทั่วไป
และแบบอื่น ๆ โดยเฉพาะแบบเปิดจะพบบ่อย
- การจับแบบเปิด:
เป็นการจับด้วยมือข้างเดียว โดยมือซ้ายของผู้ชายจับมือขวาของผู้หญิง
ลำตัวอยู่ห่างกันในระยะพองาม ส่วนมืออีกข้างที่อิสระให้ยกขึ้นข้างลำตัวแขนงอเล็กน้อย
ในขณะเต้นผู้ชายใช้มือทั้งสองข้างนำคู่เต้นไปในทิศทางที่ต้องการ และผู้หญิงจะต้องตอบสนองต่อแรงผลักของผู้ชายเพื่อให้มีแรงส่งช่วยในการหมุนตัว
ท่วงท่าการเต้น
- การก้าวเท้า:
จะให้ฝ่าเท้าลงพื้นก่อน ส้นเท้ายกให้พ้นพื้นเล็กน้อย ในบางลวดลายอาจจะมีการลดส้นเท้าราบลงพื้น
น้ำหนักตัวตกค่อนไปทางข้างหน้า งอเข่าเล็กน้อยตามธรรมชาติ การเคลื่อนไหวสะโพกให้เป็นไปตามธรรมชาติโดยเฉพาะการทำ
Chassé ไปข้าง ๆ
- การทำ
Chassé: กลุ่มการเต้นแบบ 3 ก้าว
ใน 2 บีทหลังของห้อง ซึ่งอาจจะเป็นการเต้นไปข้างหน้า
ถอยหลัง ไปทางซ้าย ทางขวา รวมทั้งการหมุนตัวก็สามารถใช้ Chassé
ได้ด้วย โดยเป็นการเคลื่นเท้าไปแทนที่ยังเท้าอีกข้างหนึ่ง
ลวดลายการเต้น
การเต้นจังหวะ Jive
ที่จัดอยู่ในขั้นพื้นฐานที่นิยมเต้นกันโดยทั่วไป
ได้แก่
1. Basic in Fallaway
2. Change of Places Right to Left
3. Change of Places Left to Right
4. Link
5. Whip
6. Change of Hands behind Back
7. American Spin
8. Stop and Go
ตัวอย่างวีดีโอ (1)
ตัวอย่างวีดีโอ (2)
รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม
นางสาวปริชญา จันทร์ผ่อง 6/5 เลขที่ 5
นางสาวปัณณารี บุญยืน 6/5 เลขที่ 6
นายกนกพล ไหมอ่อน 6/5 เลขที่ 9
นายกฤษฏิ์ เสถียรธรรมกุล 6/5 เลขที่ 10
นายณัฐวรรณ์ อรัญญาวัฒน์ 6/5 เลขที่ 13
Ref
Dancemax. (2001). Dancing
Tid-bits: Shall we Jive...? (Online). Retrieved from http://www.dancesport.uk.com/tid-bits/issue034.htm
[November 23, 2016]
Jive (dance).
(Online). Retrieved from https://simple.wikipedia.org/wiki/Jive_(dance)
[November 23, 2016]
ShineBoy. (2553). จังหวะไจว์ฟ.
(ออนไลน์).
สืบค้นจาก https://writer.dek-d.com/nondistance-love/writer/viewlongc.php?id=654464&chapter=6
[23 พฤศจิกายน 2559]