วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Rock and roll

ROCK'n ROLLS

แนวเพลงร็อกแอนด์โรล (Rock and roll หรือ rock 'n' roll)
Rock 'n' Roll เป็นดนตรีที่ผสมผสาน กันระหว่างความเป็นอเมริกันกับแอฟริกัน
คือ ดนตรีแบบพื้นบ้านอย่าง folk หรือ country ของชาวตะวันตกผิวขาว กับ ดนตรีแบบ blues และ R & B (เป็นดนตรีที่พัฒนามาจาก blues) ของชนผิวสี ทำให้เกิดเป็น ดนตร แนวใหม่ ที่มีจังหวะที่รุนแรงกว่าเดิม ทั้งเสียงกีตาร์ที่ดัง กลองที่รัวและเร็ว จังหวะที่มีอัตราเร่งมากขึ้น ซึ่งตอบ รับ ความต้องการปลดปล่อยความรู้สึก เก็บกดในจิตใจ และแสวงหาความตื่นเต้นของวัยรุ่นได้ดีกว่า ดนตรี แบบเดิม ที่มีอยู่ในขณะนั้น 
วัฒนธรรมดนตรีแบบ Rock 'n' Roll ก็มาพร้อมกันกับวัฒนธรรมวัยุร่น  ที่ถือว่าเป็น การแสดง ถึงตัวตน (Identity) ของตนเองออกมา  ล้วนเป็นแนวทางที่ขัดกับ สิ่งที่ผู้ใหญ่ในสมัยนั้น เห็นว่าดีงามและถูกต้องทั้งสิ้น แม้ Rock 'n' Roll ซึ่งถูกประฌามว่าเป็นดนตรีของปีศาจ เนื่องจากความใหม่และ แหวกแนวอย่างมาก แต่ในขณะเดียวกัน ดนตรีประเภทนี้กลับเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง ในหมู่วัยรุ่นหนุ่มสาว เพราะRock 'n' Roll เป็นการรวมกันของอิสรภาพ และการมีอำนาจ ในการ ควบคุม ซึ่งเป็นสิ่งที่วัยรุ่นต้องการ วัฒนธรรมของนักดนตรี Rock 'n' Roll จึงมีอิทธิพล ต่อวัฒนธรรม ของ วัยรุ่น ทั้งแฟชั่นการแต่งกาย ภาษา ทัศนคติ หรือแม้แต่มุมมองทางการเมือง การได้รับการยอมรับ อย่างกว้างขวาง ในหมู่วัยรุ่นทั่วโลกทำให้ยอดขายผลงานในของดนตรีแนวนี้ พุ่งขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์

Rock 'n' Roll เริ่มดังขึ้นในปลายปี 1955 โดย Bill haley & His Comet ด้วยเพลง Rock around The Clock ที่โด่งดังไปทั่วโลก
มีคนเริ่มนำเพลงRock And  Roll มาร้องเล่นกัน มีศิลปินร็อคแอนด์โรลที่โด่งดังมากมายในยุคนั้น เช่น Elvis Presley ที่มีเพลงฮิตติดอันดับนับไม่ถ้วนตั้งแต่ 1956 ถึง 1958
แต่ในที่สุดยุคเสื่อมของ rock 'n' roll ในอเมริกาก็มาถึง ภายหลังจากที่เริ่มต้นได้ไม่นานนัก ในตอนปลาย ทศวรรษ 50
เมื่อขึ้นทศวรรษใหม่ Rock 'n' Roll ได้เกิดขึ้นใหม่อีกครั้ง ณ สถานที่แห่งใหม่และยังเป็นการกลับมาที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิมด้วย มีศิลปินมากมายเข้ามาจึงทำให้ดนตรีร้อกแอนนด์โรลกลับมาอีกครั้ง และพอยุค70ดนตรีร็อคแอนด์โรลก้อถูกพัฒนาเป็นร็อคในปัจจุบัน


 รูปแบบการเต้น Jive
1. Single Rhythm หรือ Boogie–Woogie หรือ Rock 4
2. Double Rhythm หรือ Jitterbug หรือ Rock 6
3. Triple Rhythm หรือ Jive หรือ Rock 8      
ในปัจจุบันนิยมเต้น Jive แบบ Triple Rhythm ซึ่งการเต้นแบบนี้ยังได้รับการรับรองให้เป็นลีลาศมาตรฐานและจัดให้มีการแข่งขันอยู่เสมอด้วย
ลักษณะของจังหวะ Jive
- ห้องดนตรีเต็มจังหวะ 4/4 โดยมีประมาณ 40-48 ห้องดนตรีต่อนาที
- ความเร็วในการแข่งขัน 44 บาร์ (176 บีท) ต่อนาที ตามกฎของ IDSF (International Dance Sport Federation)
- การนับจังหวะคือ 1, 2, 3–4–5, 6–7-8 (เร็ว-เร็ว-เร็วและเร็ว-เร็วและเร็ว) โดยมีจังหวะเน้นหนักบนบีทที่ 2 และ 4
- อาศัยหลักพลศาสตร์ ฉับพลัน ตรงและการเคลื่อนไหวที่แผ่วเบา
- มีจังหวะจะโคน มีการออกท่าทาง เตะ และดีดสะบัด การเคลื่อนไหว ไม่เคลื่อนไปข้างหน้า แต่เป็นการมุ่งไปข้างหน้าและย้อนกลับมายังจุดศูนย์กลางของการเคลื่อนไหว รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงการใช้เท้าในการเตะและดีดสะบัด ในขณะที่การเต้นดั้งเดิมจะใช้ส่วนของร่างกายและสะโพกมากกว่า
- แตกต่างกับการเต้นแบบ Rock ‘n’ Roll ตรงที่การเต้นแบบ Jive จะมีการลัดจังหวะ (syncopated) ด้วยการเต้นแบบ Chassé
การจับคู่
- มีทั้งการจับคู่แบบปิดของละตินอเมริกันโดยทั่วไป และแบบอื่น ๆ โดยเฉพาะแบบเปิดจะพบบ่อย
- การจับแบบเปิด: เป็นการจับด้วยมือข้างเดียว โดยมือซ้ายของผู้ชายจับมือขวาของผู้หญิง ลำตัวอยู่ห่างกันในระยะพองาม ส่วนมืออีกข้างที่อิสระให้ยกขึ้นข้างลำตัวแขนงอเล็กน้อย ในขณะเต้นผู้ชายใช้มือทั้งสองข้างนำคู่เต้นไปในทิศทางที่ต้องการ และผู้หญิงจะต้องตอบสนองต่อแรงผลักของผู้ชายเพื่อให้มีแรงส่งช่วยในการหมุนตัว
ท่วงท่าการเต้น
- การก้าวเท้า: จะให้ฝ่าเท้าลงพื้นก่อน ส้นเท้ายกให้พ้นพื้นเล็กน้อย ในบางลวดลายอาจจะมีการลดส้นเท้าราบลงพื้น น้ำหนักตัวตกค่อนไปทางข้างหน้า งอเข่าเล็กน้อยตามธรรมชาติ การเคลื่อนไหวสะโพกให้เป็นไปตามธรรมชาติโดยเฉพาะการทำ Chassé ไปข้าง ๆ
- การทำ Chassé: กลุ่มการเต้นแบบ 3 ก้าว ใน 2 บีทหลังของห้อง ซึ่งอาจจะเป็นการเต้นไปข้างหน้า ถอยหลัง ไปทางซ้าย ทางขวา รวมทั้งการหมุนตัวก็สามารถใช้ Chassé ได้ด้วย โดยเป็นการเคลื่นเท้าไปแทนที่ยังเท้าอีกข้างหนึ่ง
ลวดลายการเต้น
การเต้นจังหวะ Jive ที่จัดอยู่ในขั้นพื้นฐานที่นิยมเต้นกันโดยทั่วไป ได้แก่
      1. Basic in Fallaway
      2. Change of Places Right to Left
      3. Change of Places Left to Right
      4. Link
      5. Whip
      6. Change of Hands behind Back
      7. American Spin
      8. Stop and Go


ตัวอย่างวีดีโอ (1)

ตัวอย่างวีดีโอ (2)




รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม
นางสาวปริชญา จันทร์ผ่อง 6/5 เลขที่ 5
นางสาวปัณณารี บุญยืน 6/5 เลขที่ 6
นายกนกพล ไหมอ่อน 6/5 เลขที่ 9
นายกฤษฏิ์ เสถียรธรรมกุล 6/5 เลขที่ 10
นายณัฐวรรณ์ อรัญญาวัฒน์ 6/5 เลขที่ 13


Ref
Dancemax. (2001). Dancing Tid-bits: Shall we Jive...? (Online). Retrieved from http://www.dancesport.uk.com/tid-bits/issue034.htm [November 23, 2016]
Jive (dance). (Online). Retrieved from https://simple.wikipedia.org/wiki/Jive_(dance) [November 23, 2016]
ShineBoy. (2553). จังหวะไจว์ฟ. (ออนไลน์). สืบค้นจาก https://writer.dek-d.com/nondistance-love/writer/viewlongc.php?id=654464&chapter=6 [23 พฤศจิกายน 2559]

วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ผู้จัดทำ
นางสาวก่อสิริ           แก้วปราง           6/5 เลขที่ 1
นางสาวเพ็ญพชร     สีลกันตสูติ         6/5 เลขที่ 7
นายกฤษฏิ์               เสถียรธรรมกุล   6/5 เลขที่ 10
นายณัฐพงศ์            ศิริวัฒนานุกุล     6/5 เลขที่ 12
นายประณัยเดช       เฮงสวัสดิ์           6/5 เลขที่ 18
หลัก 8 ประการของการดูแลรักษาสุขภาพ
  1. รับประทานอาหารอย่างถูกต้องเหมาะสม
    อาหารเช้าสำคัญมากเพราะช่วงเช้าร่างกายขาดน้ำตาลถ้าไม่รับประทานอาหารเช้าจะเกิดภาวะขาดน้ำตาลซึ่งจะมีผลทำให้ความคิดตื้อตันไม่ปลอดโปร่งวิตกกังวลใจสั่นอ่อนเพลียหงุดหงิดโมโหง่ายมื้อเช้ารับประทานได้เช้าที่สุดยิ่งดี(ระหว่างเวลา๖.๐๐–๗.๐๐น.)เพราะท้องว่างมานานหากยังไม่มีอาหารให้ดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำข้าวอุ่นๆก่อนควรทานข้าวต้มร้อนๆจะช่วยให้ง่ายต่อการขับถ่ายอุจจาระถ้าจำเป็นต้องรับประทาน(สาย)ใกล้อาหารมื้อกลางวันอย่ารับประทานมากอาหารเพล(อาหารมื้อกลางวัน)ควรเป็นอาหารหนักเช่นข้าวสวยพร้อมกับข้าวครบ๕หมู่เพราะร่างกายต้องใช้พลังงานมากและควรรับประทานให้เพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย
  2. ขับถ่ายอุจจาระปัสสาวะสม่ำเสมอทุกวัน
  3. ใส่เสื้อผ้าให้เหมาะสมกับฤดูกาลเช่นหน้าหนาวก็ใส่เสื้อผ้าหนาๆสวมหมวกถุงมือถุงเท้าขณะนอนตอนกลางคืนควรห่มผ้าปิดถึงอก
  4. ออกกำลังกายควรออกกำลังกายกลางแจ้งทุกวัน
  5. รักษาความสะอาดของสถานที่พักอาศัยเพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมดีอากาศดี
  6. รักษาอารมณ์ให้ปลอดโปร่งแจ่มใสตลอดทั้งวันและอย่าลืมนั่งสมาธิทุกวัน
  7. พักผ่อนให้เพียงพอเหมาะสมกับเพศและวัยไม่ควรนอนดึกเกิน๒๒.๐๐น.ติดต่อกันหลายวัน
  8. มีท่าทางและอิริยาบถที่ถูกต้องเหมาะสมในการทำงานในชีวิตประจำวัน

ทำอย่างไรให้คนในครอบครัวใส่ใจการดูแลสุขภาพ (1-5 ออกกำลัง 6-9 อาหาร )
1.       เริ่มออกกำลังกายเป็นตัวอย่างแล้วจึงชักชวนให้สมาชิกคนอื่นทำตามโดยอธิบายถึงข้อดีที่เกิดขึ้นจริงกับตัวเอง เนื่องจากการพูดบอกให้คนอื่นทำอย่างเดียวจะขาดแรงกระตุ้น เกิดความรู้สึกต่อต้าน และไม่ทำให้เห็นความสำคัญ
2.       หากิจกรรมออกกำลังกายที่ใช้เวลาไม่มาก คนที่ไม่ออกกำลังกายอยู่แล้วก็มักจะเลื่อนวันเริ่มต้นไปเรื่อยๆโดยหาข้ออ้างเป็นกิจกรรมหรืองานอื่นๆ เช่น การเดิน แกว่งแขวน ฮูลาฮูป
3.       เริ่มต้นด้วยการออกกำลังกายง่ายๆ เช่น เดินวิ่งในสวนสาธารณะ ขี่จักรยาน แกว่งแขน เพื่อไม่ให้เกิดความรู้สึกท้อหรือคิดว่าออกกำลังกายเป็นเรื่องยาก
4.       สนับสนุนให้การออกกำลังกายเป็นเวลาครอบครัวที่จะได้เจอหน้าพร้อมกันแล้วพูดคุยกันแทนการนั่งหน้าโทรทัศน์ในช่วงเย็น
5.       สอนท่าออกกำลังกายง่ายๆ ท่ายืดเส้นยืดสายในชีวิตประจำวันให้กับครอบครัว เพื่อให้พวกเขาสนใจดูแลสุขภาพมากขึ้น
6.       ทำอาหารรับประทานเองในครอบครัว โดยเฉพาะมื้อเย็นที่ทุกคนกลับจากงานแล้ว เพื่อควบคุมภาวะโภขนาการของสมาชิกทั้งด้านสารอาหารและปริมาณอาหาร
7.       ซื้ออาหาร หรือของว่างที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมาไว้ที่บ้านแทนที่อาหารสำเร็จรูปหรือขนมที่มีโซเดียมและไขมันสูง เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแทนด้วยบะหมี่ผัก ขนมกรุบกรอบแทนด้วยถั่วอบแห้ง ขนมธัญพืชอบหรือบิสกิตธัญพืชไขมันต่ำ น้ำอัดลมแทนด้วยน้ำผลไม้ นม หรือชาเขียว เป็นต้น
8.       มีผักผลไม้ติดตู้เย็นและใส่ในอาหารทุกมื้อตามความเหมาะสม
9.       ตั้งกฎในบ้านว่าห้ามรับประทานอาหารหลังเวลาใดเวลาหนึ่ง เพราะการรับประทานอาหารดึกๆจะทำให้อาหารที่เผาผลาญไม่หมดสะสมในรูปไขมัน
10.   ช่วยกันเตือนให้สมาชิกในครอบครัวฉีดวัคซีน ตรวจสุขภาพประจำปี หรือไปพบแพทย์ตามนัด




การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม HOLISTIC HEALTH
เป็นการดูแลสุขภาพที่มีการบูรณาการความรู้ดั้งเดิมเข้ากับการบำบัดเสริม เพื่อส่งเสริมให้เกิดสุขภาวะที่ดี และป้องกันรักษาโรค ในปัจจุบันมีการนำการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมไปใช้ในการบำบัดรักษาคนไข้หรือผู้ที่มีความไม่สบาย ทำให้เกิดเป็นการแพทย์แบบองค์รวมขึ้น (Holistic Medicine) การแพทย์แบบองค์รวมได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในหลายประเทศ เปรียบเสมือนปรัชญาการสร้างสุขภาพและการรักษาโรค ซึ่งจะพิจารณาองค์ประกอบทุกอย่างของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นไปที่การให้ผู้เข้ารับการบำบัดเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการบำบัดรักษา หรือปฏิบัติตนเพื่อให้หายจากโรคภัยด้วยตนเอง จะเห็นได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงบทบาทพฤติกรรมสุขภาพจาก เชิงรับมาเป็น เชิงรุกในบางครั้งเรียกการแพทย์แบบองค์รวม ว่าเป็นการแพทย์ทางเลือก (Alternative Medicine) โดยไม่ได้จำกัดอยู่ที่วิธีใดวิธีหนึ่ง หากแต่ครอบคลุมถึงการวินิจฉัยโรค การบำบัดรักษา และการส่งเสริมสุขภาพ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ได้ให้คำนิยามของสุขภาพ (Health) หมายถึงความสมบูรณ์ของร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ส่วนคำนิยามสุขภาวะ (Well-Being) คือ การที่สุขภาพทางกาย ทางจิตใจ ทางสังคม และทางจิตวิญญาณอยู่กันอย่างสมดุล
            1) มิติทางกาย ซึ่งเป็นมิติของสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับสภาพโดยทั่วไปทางกายของมนุษย์ ทั้งภายใน ภายนอก และรวมถึงสภาพแวดล้อมรอบตัวด้วย ทั้งนี้มิติทางกายจะยึดเอาความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกาย ไม่เจ็บ ไม่ไข้ ไร้ซึ่งโรคภัยเป็นสำคัญ โดยมีอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ สมรรถนะทางกาย ภาวะทางเศรษฐกิจที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต เป็นปัจจัยที่จะส่งผลต่อสภาวะสุขภาพดังกล่าวได้
2) มิติทางจิต ซึ่งเป็นมิติของสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับสภาวะทางจิตใจหรืออารมณ์ที่มีผลกับสุขภาพโดยรวมของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นภาวะอารมณ์ที่แจ่มใสร่าเริง ผ่อนคลายไม่ตึงเครียด รู้สึกมีความสุขและปลอดโปร่ง โดยที่มีหลักการจัดการกับสภาวะความเครียดไม่ให้เกิดวิกฤตทางอารมณ์เกิดขึ้นเป็นปัจจัยส่งผลต่อสภาวะสุขภาพจิตที่ดีได้
3) มิติทางสังคม ซึ่งเป็นมิติของสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับสภาวะโดยทั่วไปทางสังคมที่มีผลกับสุขภาพโดยรวมของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นสภาพสังคมที่มีความผาสุกทั้งระดับครอบครัว สังคมและชุมชน โดยที่แต่ละระดับมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน สมาชิกในสังคมนั้นๆ มีความเอื้ออาทรต่อกัน จัดระบบบริการจากภาครัฐที่มีความเสมอภาคกัน สิ่งเหล่านี้จัดได้ว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญมากที่จะส่งผลต่อสภาวะสุขภาพทางสังคมที่ดีได้
4) มิติทางปัญญาหรือทางจิตวิญญาณ ซึ่งเป็นมิติของสุขภาพที่เกี่ยวกับการมีความรู้ เฉลียวฉลาด รู้เท่าทันสิ่งต่างๆ ที่จะเปลี่ยนแปลงไป ทั้งทางกาย จิตใจ และสังคม ทำให้เกิดแรงศรัทธาต่อตนเองและมีความหวังต่อความสำเร็จที่จะทำให้ตนเองมีความผาสุกด้วยสัมมาชีพและเป็นปัจจัยส่งผลต่อสภาวะสุขภาพโดยรวมของมนุษย์อย่างสมบูรณ์
แหล่งอ้างอิง : ดวงกมล ศักดิ์เลิศสกุล, 2549 อ้างถึงใน ปรถ ปฐพีทอง, 2547

วิดีโอเสริมประกอบความเข้าใจ https://youtu.be/DgeityRpyk0
การดูแลผู้สูงอายุด้านอาหารและโภชนาการ
หลักโภชนาการของผู้สูงอายุ
1.พลังงานที่ผู้สูงอายุควรได้รับ
       ผู้สูงอายุควรได้รับพลังงานอย่างเพียงพอ คือ วันละ 1,500-2,000 กิโลแคลอรี จากการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และหลากหลาย วันละ 3 มื้อ พอประมาณ และมีอาหารว่าง 2 มื้อ โดยทุกมื้อควรมีผักผลไม้เพื่อเพิ่มกากอาหาร
2.สารอาหารในอาหารของผู้สูงอายุ
       2.1 โปรตีน ผู้สูงอายุมีความต้องการโปรตีนประมาณ 1 กรัม/น้ำหนักตัว(กิโลกรัม) ต่อวัน เพื่อรักษามวลกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ป้องกันภาวะกล้ามเนื้อลีบ และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ตัวอย่างเช่น ผู้ที่มีน้ำหนัก 60 กิโลกรัม ควรได้รับโปรตีนวันละ 60 กรัม โดยเลือกรับประทานโปรตีนคุณภาพดี เช่น เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน ไข่ดาว ดื่มนมพร่องมันเนยและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองเป็นประจำ
       2.2 คาร์โบไฮเดรต เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานกับร่างกาย ได้แก่ อาหารกลุ่มข้าว แป้ง ผู้สูงอายุควรรับประทานอาหารกลุ่มนี้ให้เพียงพอเพื่อรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม และควรเลือกรับประทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท ลูกเดือย
       2.3 ไขมัน ผู้สูงอายุต้องการพลังงานจากไขมันเพียงเล็กน้อย เพื่อให้ร่างกายได้รับกรดไขมันจำเป็นและวิตามินที่ละลายในไขมันเพียงพอ ผู้สูงอายุควรลดหรือจำกัดการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ไขมันจากสัตว์ เนย น้ำมัน กะทิ ครีมเข้มข้น เป็นต้น
      2.4 วิตามินและแร่ธาตุ มีความจำเป็นสำหรับผู้สูงอายุในการควบคุมระบบต่างๆภายในร่างกายให้เป็นปกติ แร่ธาตุที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้สูงอายุคือ แคลเซียม ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนและสร้างมวลกระดูกให้มีความหนาแน่น ผู้สูงอายุต้องการแคลเซียมอย่างน้อยวันละ 1,000 มิลลิกรัม อาหารทุกมื้อควรมีแคลเซียมโดยเฉลี่ยมื้อละ 300 มิลลิกรัม อาหารที่เป็นแหล่งของแคลเซียม ได้แก่ นมถั่วเหลืองเพิ่มแคลเซียม นมสด ผลิตภัณฑ์จากนม (เช่น โยเกิร์ต นมเปรี้ยวไม่หวานจัด) ถั่วเหลือง ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง (เช่น ฟองเต้าหู้) ปลาตัวเล็กที่รับประทานได้ทั้งกระดูก (เช่น ปลาข้าวสาร) ผักใบเขียวเข้ม ผักสีส้ม (เช่น คะน้า กวางตุ้ง ตำลึง ใบยอ ฟักทอง แครอท)
      2.5 น้ำ ผู้สูงอายุควรดื่มน้ำสะอาดหรือเลือกดื่มน้ำสมุนไพรไม่หวานจัดสลับกับน้ำเปล่าอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว น้ำเป็นส่วนประกอบของเลือดที่จะช่วยนำสารอาหารต่างๆ ไปให้ยังอวัยวะต่างๆภายในร่างกายและช่วยขับถ่ายของเสีย ทำให้รู้สึกสดชื่น
หลักการจัดอาหารสำหรับผู้สูงอายุ
1. ลดปริมาณอาหารแต่ละมื้อลง แต่ให้รับประทานบ่อยขึ้น เพื่อผ่อนการทำงานของระบบการย่อยอาหาร เช่นวันหนึ่งอาจให้รับประทาน 4-5 ครั้ง แทนที่จะรับประทานวันละ 3 ครั้งเช่นเดิม
2. ลดปริมาณอาหารประเภทให้แรงงาน คือ พวกแป้งและไขมันลงร้อยละ 10-30 ตามอายุที่สูงเกิน 40 ปีขึ้นไป
3. อาหารพวกเนื้อสัตว์คงเดิม แต่ดัดแปลงให้กินง่าย ย่อยง่าย เช่น ต้มเปื่อย หรือสับละเอียด
4. มื้อเย็นไม่ควรเป็นอาหารหนัก
5. ให้ดื่มเครื่องดื่มร้อนๆ ก่อนนอนจะทำให้นอนหลับสนิทดี
6. ให้รับประทานอาหารร้อนดีกว่าอาหารเย็น น้ำแกงหรือน้ำซุบร้อนๆ ก่อนอาหาร จะช่วยให้กินได้มาก
7. เครื่องดื่มที่มีฤทธิ์กระตุ้นเล็กน้อย เช่น น้ำชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ถ้าไม่เป็นโรคที่แพทย์ห้าม เช่น โรคหัวใจก็ดื่มได้เล็กน้อย เพราะจะช่วยให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น
8. ให้ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อเซลล์จะได้ทำงานได้ตามปรกติ
9. อาหารต้องเป็นอาหารอ่อน ย่อยง่าย และไม่มีรสจัด
10. อาหารที่รับประทานควรมีส่วนของกากบ้างพอควรเพื่อไม่ให้ท้องผูก
11. ส่วนประกอบของอาหารต่างๆ โดยเฉพาะแคลเซียม วิตะมิน แร่ธาตุ และสารโปรตีนต้องมีปริมาณเพียงพอและครบชนิด และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง
12. นอกจากจะมีคุณค่าทางโภชนาการแล้ว อาหารนั้นควรมีสีสัน กลิ่น รส ชวนให้อยากรับประทานด้วย



โภชนบัญญัติสำหรับผู้สูงอายุ
ยึดหลักเช่นเดียวกับโภชนบัญญัติ 9 ประการสำหรับคนไทย ได้แก่
           ๑.  รับประทานอาหารครบ  ๕  หมู่  แต่ละหมู่ให้มีความหลากหลาย  และหมั่นดูแลน้ำหนักตัว  ใน  ๑  วันเราควรรับประทานอาหารให้ครบ  ๕  หมู่  ดังนี้  อาหารหมู่ที่  ๑  ได้แก่  เนื้อสัตว์ต่างๆ  เครื่องในสัตว์  ไข่  นม  ถั่วเมล็ดแห้ง  ผลิตภัณฑ์จากนม  อาหารหมู่ที่  ๒  ได้แก่  ข้าวต่างๆ  อาหารทำจากแป้ง  เผือก  มัน  อาหารหมู่ที่  ๓  ได้แก่  ผักใบเขียวและผักต่าง ๆ  อาหารหมู่ที่  ๔  ได้แก่  ผลไม้ต่างๆ  อาหารหมู่ที่  ๕  ได้แก่  ไขมันจากสัตว์และไขมันจากพืช  เราควรเลือกรับประทานอาหารในแต่ละหมู่ให้หลากหลายไม่ซ้ำซ้อน  และที่สำคัญคือ  ควรหมั่นดูแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานให้เหมาะสมตามวัย
            ๒.  รับประทานข้าวเป็นอาหารหลัก  สลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ  ข้าวจัดเป็นอาหารหลักของคนไทย  ซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการมาก  โดยเฉพาะข้าวที่ผ่านการขัดสีน้อย  เช่น  ข้าวซ้อมมือ  หรือที่ปัจจุบันเรียกว่า  “ข้าวกล้อง”  ซึ่งนอกจากให้สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตแล้ว  ยังมีวิตามินที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากอีกด้วย  หากเบื่อข้าวก็สามารถรับประทานอาหารประเภทแป้งอื่นๆ  สลับเป็นบางมื้อได้  เช่น  ก๋วยเตี๋ยว  บะหมี่  ขนมปัง  เป็นต้น  แต่คุณค่าของอาหารเหล่านี้จะน้อยกว่าการได้รับจากข้าว
            ๓.  รับประทานผักให้มากและรับประทานผลไม้เป็นประจำ  พืชผักและผลไม้เป็นอาหารที่ให้สารอาหารที่จำเป็นแก่ร่างกาย  คือ  วิตามินและแร่ธาตุ  เป็นอาหารที่ช่วยในการป้องกันโรค  นอกจากนี้ยังมีใยอาหารที่ให้ปริมาณสูง  ช่วยทำให้ขับถ่ายสะดวก  ช่วยกวาดเศษอาหารในสำไส้ออกมาลดการบูดเน่า  และช่วยให้ท้องไม่ผูก
            ๔.  รับประทานปลา  เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน  ไข่  และถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ  อาหารข้างต้นเป็นอาหารที่ให้สารอาหารโปรตีนเป็นสำคัญ  ซึ่งช่วยในการเจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ  เป็นสารอาหารที่จำเป็นอย่างยิ่งของเด็กในวัยเรียน  หากขาดโปรตีนแล้วจะมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตทั้งร่างกายและสมอง
            ๕.  ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย  นมเป็นอาหารที่มีประโยชน์ตั้งแต่วัยทารก เป็นอาหารที่ย่อยง่าย  อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย  เช่น  โปรตีน  แคลเซียม  วิตามินต่าง ๆ  เด็กในวัยเรียนมีความต้องการสารอาหารเหล่านี้มาก  เพราะอยู่ในวัยเจริญเติบโต  ร่างกายต้องนำไปสร้างกระดูก  ฟัน  กล้ามเนื้อ  เป็นต้น
            ๖.  รับประทานอาหารที่มีไขมันพอควร ไขมันจากพืชและสัตว์เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานที่สูงที่สุดแก่ร่างกาย  และเป็นตัวละลายวิตามินเอ  ดี  อี  และเค ให้แก่ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ได้  แต่ต้องรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ  ควรใช้ไขมันจากพืชในการปรุงอาหารมากกว่าไขมันจากสัตว์  และไม่ควรเกิน  ๓  ช้อนโต๊ะต่อวัน  หากรับประทานไขมันในปริมาณที่มากเกินไปจะทำให้เกิดการสะสมในร่างกาย  โดยถ้าสะสมในหลอดเลือดจะทำให้เกิดไขมันอุดตันในเส้นเลือด  เป็นอันตรายต่อหัวใจและสมอง  และถ้าสะสมตามร่างกายจะทำให้เกิดโรคอ้วนได้  
            ๗.  หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสหวานและเค็มจัด  อาหารที่มีรสหวานจัดนั้นมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบของอาหารมาก  การรับประทานน้ำตาลในปริมาณมาก  จะทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อการเกิดโรค  เช่น  โรคอ้วน  โรคเบาหวาน  เช่นเดียวกับการรับประทานอาหารรสเค็มจัด  ซึ่งมีส่วนประกอบของเกลือโซเดียมสูง  อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อไตและผู้ป่วยโรคความดันเลือดสูงด้วย
            ๘.  รับประทานอาหารที่สะอาด  ปราศจากการปนเปื้อน  นอกจากอาหารจะมีประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว  ถ้าอาหารเหล่านั้นเกิดการปนเปื้อนจากเชื้อโรคและสารเคมีต่างๆ  ก็จะทำให้เกิดโทษต่อร่างกายได้  ดังนั้นเราควรเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ  สดสะอาด  ปราศจากสัตว์นำโรค  และแมลงวันตอม  รวมทั้งอาหารที่มีสีสันฉูดฉาด  ก็ไม่ควรรับประทานเช่นกัน
            ๙.  งดเครื่องดื่มมึนเมา  เครื่องดื่มแอลกอฮอล์  เช่น  สุรา  ยาดอง  เหล้า  เบียร์  ไวน์  ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างยิ่ง  ทำให้เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง  มะเร็งตับ  เป็นต้น  จึงควรเลือกดื่มเฉพาะเครื่องดื่มที่มีประโยชน์เท่านั้น  เช่น  น้ำผัก  น้ำผลไม้  เป็นต้น
การดูแลผู้สูงอายุด้านการเคลื่อนไหวและการออกกำลังกาย
ควรดูแลให้ผู้สูงอายุได้มีการเคลื่อนไหวร่างกาย (Physical activity) ทุกส่วนอยู่เสมอเช่น การเดิน การบริหารกล้ามเนื้อและข้อต่างๆที่สำคัญเช่น ข้อเข่า ข้อไหล่ และข้อนิ้วต่างๆ เพราะข้อต่างๆจะติดขัดได้ง่ายจากการเสื่อมถอยของเนื้อเยื่อข้อกระดูกและกล้ามเนื้อเช่น การช่วยงานบ้านที่เหมาะสมกับสุขภาพเช่น กวาดบ้าน รดน้ำต้นไม้ ช่วยดูแลหลานที่โตแล้ว แต่การดูแลเด็กอ่อนและเด็กเล็กควรต้องมีผู้ช่วยผู้สูงอายุด้วย
ควรจัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุได้เคลื่อนไหวเสมอ ไม่นั่งแช่ดูทีวีหรือนอนอยู่แต่บนเตียง การช่วยกันจัดให้มีการรวมกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนเพื่อกิจกรรมต่างๆ จะเป็นสิ่งที่ช่วยผู้สูงอายุทั้งสุข ภาพกายและสุขภาพจิต
ส่วนการออกกำลังกาย (Exercise) หมายถึงการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวที่เพิ่มการใช้พลัง งาน นอกเหนือจากการเคลื่อนไหวร่างกายในการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งควรต้องปรึกษาแพทย์ก่อน เสมอ เพื่อแนะนำวิธีการในการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสุขภาพของผู้สูงอายุแต่ละคน
โดยทั่วไปการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุคือ การเดิน ซึ่งเมื่อไม่มีปัญหาด้านสุขภาพ แพทย์มักแนะนำการเดินวันละประมาณ 20 - 30 นาทีทุกๆวัน ซึ่งในการเดินควรต้องหาสถานที่ให้ปลอดภัยต่อผู้สูงอายุ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุโดยเฉพาะการล้ม การใส่เครื่องช่วยพยุงต่างๆเช่น พยุงข้อเท้าและพยุงข้อเข่า รวมทั้งต้องเลือกรองเท้าที่เหมาะสมต่อการเดิน ป้องกันอุบัติเหตุต่อการล้มและต่อข้อต่างๆ ซึ่งทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์และนักกายภาพบำบัดก่อน

การดูแลผู้สูงอายุด้านการขับถ่าย
ผู้สูงอายุมีปัญหาในการขับถ่ายเสมอทั้งการปัสสาวะและการอุจจาระ จากการเสื่อมถอยของ เซลล์ต่างๆรวมทั้งของกล้ามเนื้อหูรูดต่างๆ
การถ่ายปัสสาวะ ผู้สูงอายุทั้งหญิงและชายมักมีปัญหาจากการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ และการ ปัสสาวะบ่อย ซึ่งผู้หญิงจะพบบ่อยกว่าผู้ชายรวมทั้งอาการรุนแรงกว่า เพราะขาดฮอร์โมนเพศจาก การหมดประจำเดือนถาวร
ดังนั้นในการดูแลผู้สูงอายุจึงต้องใส่ใจในเรื่องนี้ จัดห้องพักอาศัยให้ใกล้ห้องน้ำ เครื่องนุ่งห่มควรต้องใส่ถอดได้ง่าย สอนให้ผู้สูงอายุรู้จักใช้ผ้าอ้อมอนามัย แต่ควรให้ผู้สูงอายุเลือกและทดลองใช้แบบต่างๆด้วยตนเองเช่น แบบเป็นแถบคล้ายใส่ผ้าอนามัยหรือแบบคล้ายกางเกง รวมทั้งในด้านความหนาและกลิ่นของผ้าอ้อมอนามัย
ในการเดินทาง การท่องเที่ยว และกิจกรรมต่างๆควรต้องดูแลในเรื่องห้องน้ำให้สะดวกสำ หรับผู้สูงอายุเสมอ
นอกจากการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่แล้ว ผู้สูงอายุหลายท่านยังไม่สามารถกลั้นอุจจาระได้ ซึ่งจะก่อให้เกิดภาวะอุจจาระเล็ด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญสาเหตุหนึ่งที่ผู้สูงอายุไม่อยากเข้าสังคม ดัง นั้นจึงต้องระมัดระวังในเรื่องอาหารเสาะท้องที่ทำให้ท้องเสียได้ง่าย นอกจากนั้นก่อนพาผู้สูงอายุ ไปไหน ควรให้เวลาได้เข้าห้องน้ำถ่ายอุจจาระก่อน และควรต้องฝึกผู้สูงอายุให้ถ่ายเป็นเวลา และมีชุดชั้นในสำรองสำหรับผู้สูงอายุเสมอ
ผู้สูงอายุมักมีปัญหาจากอาการท้องผูก จากกระเพาะอาหารและลำไส้ลดการบีบตัวตามอายุ การเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง การไม่ได้ออกกำลังกาย การกินผักผลไม้น้อย ไม่ชอบดื่มน้ำ และอาจจากผลข้างเคียงของยาบางชนิดที่รักษาโรคเรื้อรังของผู้สูงอายุเช่น ยาลดความดันโลหิตบางชนิด ดังนั้นผู้สูงอายุเองและผู้ดูแลจึงควรช่วยเหลือให้ผู้สูงอายุมีการเคลื่อนไหวร่างกายเสมอ กินผักผลไม้มากๆ (อาจใช้การหั่นเป็นชิ้นเล็กหรือเลือกชนิดที่เคี้ยวง่ายหรือใช้เครื่องปั่นช่วย ) และดื่มน้ำมากๆ (ตั้งขวดน้ำไว้ให้เห็นและแนะนำให้ดื่มให้หมด)
ผู้ดูแลและครอบครัวควรต้องเข้าใจว่า ปัญหาการขับถ่ายเป็นเรื่องธรรมชาติ ไม่ควรรำคาญ หรือแสดงความรังเกียจ ควรต้องช่วยผู้สูงอายุแก้ปัญหา ควรปรึกษาแพทย์/พยาบาล เพราะมีวิธี การทางกายภาพบำบัดที่จะช่วยฝึกกล้ามเนื้อในการขับถ่ายให้แข็งแรงขึ้น และยังมียาช่วยกระตุ้นประสาทควบคุมการขับถ่ายเพื่อช่วยให้กลั้นปัสสาวะ/อุจจาระได้ดีขึ้น
นอกจากนั้นผู้สูงอายุเองควรต้องให้ความร่วมมือดูแลตนเองตามแพทย์/พยาบาลแนะนำ อย่าขาดกำลังใจเช่น การทำงานต่างๆให้อยู่ใกล้ห้องน้ำไว้ ไม่กลั้นปัสสาวะ/อุจจาระ ระวังเรื่องอาหาร ศึกษาเส้นทางการเดินทางการท่องเที่ยวก่อนเสมอเมื่อต้องเดินทาง เพื่อจัดการปัญหาเรื่องห้องน้ำ และแจ้งครอบครัวถึงความจำเป็นในการเข้าห้องน้ำเสมอ
อีกประการคือ ผู้สูงอายุและผู้ดูแลต้องใส่ใจบริเวณอวัยวะเพศและบริเวณก้น เมื่อมีภาวะกลั้นปัสสาวะ/อุจจาระไม่อยู่ เพราะบริเวณนี้ซึ่งอับชื้นอยู่แล้วจะอักเสบติดเชื้อ ทั้งเชื้อแบคทีเรียรวมทั้งเชื้อราได้ง่าย หรือเกิดเป็นผื่นคันได้ง่ายเช่นกัน ซึ่งการรักษาจะยุ่งยากกว่าการป้องกันดูแลมาก ซึ่งการดูแลที่สำคัญคือ การทำความสะอาดทุกครั้งที่มีการปัสสาวะ/อุจจาระทั้งในภาวะปกติและในภาวะกลั้นไม่อยู่โดย
·         ล้างบริเวณนี้ด้วยน้ำสะอาด ซับให้แห้งด้วยผ้าสะอาด (ควรเตรียมไว้ล่วงหน้าเสมอในการเดินทาง)
·         เมื่ออาบน้ำควรใช้สบู่อ่อนโยน (สบู่เด็กอ่อน) ทำความสะอาดบริเวณนี้เสมอ อย่าใช้สบู่หรือน้ำยารุนแรง
·         สวมใส่ชุดชั้นใน กางเกง หรือกระโปรง ชนิดผ้าที่ถ่ายเทอากาศได้ดีเช่น ผ้าฝ้า100%
·         เปลี่ยนผ้าอ้อมอนามัยบ่อยๆ (อ่านเพิ่มเติมในบทความเรื่อง ผื่นผ้าอ้อม)
·         เมื่อเกิดผื่นหรือแผล ควรเช็ดทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อเบตาดีน และถ้าอาการไม่ดีขึ้นภายใน 2 - 3 วัน ควรรีบพบแพทย์ก่อนผื่นหรือแผลลุกลาม
อนึ่ง การดูแลผิวหนังบริเวณนี้ในผู้สูงอายุที่ต้องนอนอยู่กับที่หรือเคลื่อนไหวไม่ได้ ต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์/พยาบาลเฉพาะกรณีไป ซึ่งผู้ดูแลควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

การดูแลผู้สูงอายุด้านป้องกันอุบัติเหตุ(ในบ้าน)
          ผู้สูงอายุ
มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุต่างๆได้สูง ที่พบบ่อยคือการล้มและจากการใช้เครื่องใช้ต่างๆ
·         จากการล้ม เพราะปัญหาของการเสื่อมถอยของสมอง (การวิงเวียน ความสามารถในการทรงตัว)กล้ามเนื้อ กระดูก ข้อ การมองเห็นและการได้ยินลดลง ทำให้ผู้สูงอายุลื่นล้มได้ง่าย ดังนั้นจึงต้องจัดบ้านให้ปลอดภัยต่อผู้สูงอายุ ที่จะลื่นหรือสะดุดล้มเช่น ไม่ควรให้นอนกับพื้น เตียงนอนควรเตี้ยในระดับที่ลุกนั่งแล้วเท้ายันพื้นได้พอดี มีที่ยึดเหนี่ยว จัดให้ห้องพักอยู่ใกล้ห้องน้ำ ไม่มีสิ่งของที่เป็นอันตรายในห้องพัก ระมัดระวังเรื่องการใช้พรมปูพื้น พื้นห้องน้ำต้องไม่ลื่น (การมีราวจับจะช่วยการทรงตัวได้ดีขึ้น) ทางเดินต้องสะดวก ไม่วางของเกะกะรวมทั้งบนพื้น หลีกเลี่ยงการใช้บันได และแสงสว่างตามทางเดินต่างๆทุกที่ต้องเพียงพอให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
การเลือกรองเท้าที่กระชับ มีสายรัด หัวท้ายปิด นุ่มสบาย ส้นเตี้ย สะดวกต่อการสวมใส่ และการถอด (ไม่ควรเลือกชนิดมีสายผูกร้อยควรเป็นแถบกาว) และการใช้ไม้เท้าช่วยในการเดิน ก็เป็นอีกสิ่งสำคัญช่วยลดอุบัติเหตุของผู้สูงอายุนอกจากนี้ควรต้องพูดคุยแนะนำกับผู้สูงอายุถึงวิธีใช้อุปกรณ์ต่างๆซึ่งต้องง่ายและปลอดภัย หรือห้ามใช้อะไรบ้าง? เช่น ห้ามใช้เตาแก๊ส ห้ามจุด ธูป/เทียนไหว้พระ และในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุเมื่อไม่มีคนอยู่บ้าน เป็นต้น

การดูแลผู้สูงอายุด้านการติดเชื้อและโรคประจำตัว
โดยธรรมชาติของการเสื่อมถอยของเซลล์ในทุกๆระบบรวมทั้งระบบสร้างภูมิคุ้มกันต้านทาน โรค ผู้สูงอายุจึงมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำกว่าคนทั่วไปเสมอ ส่งผลให้ติดเชื้อได้ง่ายและมักเป็นการติดเชื้อที่รุนแรง บ่อยครั้งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ ดังนั้น ตัวผู้สูงอายุเอง ผู้ดูแลและครอบ ครัวต้องใส่ใจและร่วมกันรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) อย่างเคร่งครัด เพื่อลดโอ กาสเกิดการติดเชื้อของผู้สูงอายุ
นอกจากนั้นผู้สูงอายุมักเกิดโรคเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของการใช้พลังงานในร่าง กายเช่น โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง และโรคความดันโลหิตสูง ดังนั้นตัวผู้สูงอายุเองและ ครอบครัวควรมีการตรวจสุขภาพให้กับผู้สูงอายุสม่ำเสมอ เริ่มได้เลยในทุกอายุ ต่อจากนั้นความถี่ในการตรวจจะขึ้นกับผลตรวจและดุลพินิจของแพทย์ อีกประการสำคัญคือ ควรให้ผู้สูงอายุได้รับการฉีดวัคซีนตากระทรวงสาธารณสุขและ/หรือแพทย์/พยาบาลแนะนำเสมอเช่น วัคซีนโรคไข้ หวัดใหญ่และวัคซีนโรคไวรัสตับอักเสบ บี
นอกจากนั้น เมื่อพบว่าผู้สูงอายุเจ็บป่วยเป็นโรคต่างๆ ควรต้องใส่ใจดูแลรักษาปฏิบัติตามแพทย์/พยาบาลแนะนำเสมอ เคร่งครัดกว่าผู้ใหญ่ทั่วไป เพราะผู้สูงอายุจะเกิดผลข้างเคียงต่างๆได้ง่าย และไม่ควรให้ขาดยา รวมทั้งการพบแพทย์ควรต้องสม่ำเสมอตามแพทย์นัด
เมื่อผู้สูงอายุมีอาการเจ็บป่วยโดยเฉพาะเมื่อมีไข้หรือท้องเสีย ถ้าอาการไม่ดีขึ้นภายใน 1 - 2 วัน ต้องนำผู้สูงอายุพบแพทย์เพื่อการรักษาได้ทันท่วงที แต่ถ้ามีอาการมากควรพบแพทย์ภายใน 24 ชั่วโมงหรือเป็นการฉุกเฉิน

การดูแลผู้สูงอายุด้านสุขภาพจิต
ผู้สูงอายุมักมีปัญหาด้านสุขภาพจิตเสมอ สถิติในปี พศ. 2550 ในสหรัฐอเมริกา พบผู้สูง อายุที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิตจนนำไปสู่การฆ่าตัวตาย 14.3 คนต่อผู้สูงอายุ 100,000 คน ซึ่งในกลุ่มคนทั่วไปอัตราการฆ่าตัวตายคือ 11.3 คนต่อประชากร 100,000 คน ทั้งนี้เกิดจากเหตุผลดัง ได้กล่าวแล้วว่าเป็นวัยแห่งการสูญเสียและสิ้นพลัง จึงมักมีอาการซึมเศร้า กลัวเหงา ขาดความรัก ไม่เป็นที่ต้องการ และขาดความมีศักดิ์ศรี
ดังนั้นการดูแลผู้สูงอายุจึงต้องให้ความรักความนับถือเหมือนเมื่อครั้งผู้สูงอายุยังอยู่ในวัยทำงาน ให้ความเข้าใจ มีเวลาให้บ้าง สั่งสอนอบรมให้ลูกหลานยังคงเคารพนับถือ ไม่แสดงให้ผู้ สูงอายุรู้สึกว่าเป็นภาระ หมดคุณค่า เป็นที่ไม่ต้องการ หาทางช่วยเสริมสร้างศรัทธาในตนเองให้ กับผู้สูงอายุเช่น การได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมผู้สูงอายุด้วยกัน การได้มีส่วนร่วมในการดูแลครอบ ครัวโดยให้เหมาะสมกับสุขภาพผู้สูงอายุ การยังเป็นที่เคารพนับถือของคนในครอบครัวที่อาวุโสน้อยกว่า
ผู้สูงอายุควรมีโอกาสได้เข้าสังคมที่เหมาะสม การที่ต้องอยู่แต่ในบ้าน ขาดเพื่อนในวัยเดียวกัน หรือขาดคนพูดคุยผ่อนคลายความเหงา ยิ่งเป็นการบั่นทอนสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ
ผู้ดูแลและครอบครัวควรคอยสังเกตอาการซึมเศร้าของผู้สูงอายุเสมอ เมื่อมีอาการมาก หรือครอบครัวไม่สามารถแก้ปัญหาได้ควรรีบปรึกษาแพทย์

การดูแลผู้สูงอายุด้านสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยเพิ่มสุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้สูงอายุเช่น ควรจัดบ้านให้สะอาด และถ้าเป็นไปได้ ช่วยให้ผู้สูงอายุได้เห็นแสงแดดหรือห้องพักที่แสงแดดส่องถึง เพราะนอกจากช่วยฆ่าเชื้อโรคแล้ว แสงแดดจะมีผลต่อจิตใจให้ความรู้สึกที่สดชื่นและเกิดพลัง ช่วยลดการซึมเศร้าได้เป็นอย่างดี
มีต้นไม้ดอกไม้แม้จะเพียง 1 - 2 กระถางให้ผู้สูงอายุได้ดูแล ได้มีส่วนร่วม และได้เห็นถึง การมีชีวิตและการเจริญเติบโตซึ่งเกิดจากการดูแลของผู้สูงอายุเอง ซึ่งจะช่วยด้านอารมณ์และจิตใจของผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก



อ้างอิง
http://haamor.com/th/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8/